วันพุธที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2557

วิธีกำจัดไวรัสแบบให้ผลลัพธ์ดีที่สุด

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการตรวจสอบไวรัส

ถ้าคุณมีโปรแกรมกำจัดไวรัสติดตั้งอยู่แล้ว และมีการอัปเดทโปรแกรมอย่างสม่ำเสมอ แถมยังมีการตั้งเวลาในการตรวจสอบไวรัสแบบอัตโนมัติ ขนาดทำอย่างนี้แล้ว ทำไมยังติดไวรัสอยู่อีก ไม่ใช่เรื่องแปลกครับไม่ว่าองค์กรขนาดเล็ก หรือขนาดใหญ่ก็สามารถติดไวรัสได้ง่าย เพราะถ้าไม่มีการป้องกันช่องทางต่างๆในการแพร่ของไวรัส โดยเฉพาะกับ Flash Drive หรือ Share Driveในระบบเครือข่ายแล้วอย่างนี้ จะป้องกันหรือลดปัญหาไวรัสได้อย่างไร

วิธีตรวจสอบไวรัสที่ (น่า)ดีที่สุด

โดยปกติแล้ว ถ้าคอมพิวเตอร์ของเราติดไวรัสแล้ว โอกาสที่จะสั่งให้โปรแกรมตรวจสอบและกำจัดให้ 100% นั้นเป็นเรื่องยาก โดยเฉพาะกับไวรัสที่มีการฝังและรันโปรแกรมในส่วนที่เราเรียกว่า "Process" แล้ว จะกำจัดได้ยากมากยิ่งขึ้น สาเหตเพราะ ไวรัสได้รันตัวเองอยู่แล้วซึ่งการลบไวรัสประเภทนี้ทำได้ยาก

ดังนั้นวิธีการที่ถูกต้องคือ ต้อง Stop Process หรือหยุดการทำงานของไวรัสก่อน จากนั้นจึงค่อยสั่งตรวจสอบและกำจัดไวรัส ซึ่งสำหรับผู้ใช้งานทั่วไป คงเป็นการยากที่จะเดาว่า "Process" ไหนเป็นไวรัส ดังนั้น วิธีการต่อไปนี้ เป็นวิธีการที่ค่อนข้างง่าย และสามารถนำไปใช้ได้กับทุกๆ คน นั่นคือ

การสั่ง Scan Virus ในส่วนของ Safe Mode (Windows Safe Mode) ซึ่งในโหมดนี้จะไม่มีการสั่งทำงานโปรแกรมใดๆ (ส่วนน้อยที่ทำงาน) ดังนั้น ในส่วนของไวรัส ก็อาจยังไม่ได้ทำงาน จึ่งทำให้การสั่งตรวจสอบ และกำจัดไวรัสในโหมดนี้ ทำได้ค่อนข้งสมบูรณ์กว่าปกติ

น่าเสียดาย โปรแกรมกำจัดไวรัสหลายตัว ไม่สามารถทำงานได้ใน Safe Mode ดังนั้น จึงแนะนำให้คุณ download โปรแกรมประเภท Virus Remove Tool มาใช้แทน ซึ่งส่วนใหญ่ก็ให้ผลเป็นทีประทับใจมากพอสมควร

ขอบคุณที่มา : http://it-guides.com

IP Address คืออะไร?


IP Address คือหมายเลขประจำเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งประกอบด้วยตัวเลข 4 ชุด มีเครื่องหมายจุดขั้นระหว่างชุด ตัวอย่าง IP Address 192.168.0.1 เป็นต้น
การสื่อสารและรับส่งข้อมูลในระบบ Internet สิ่งสำคัญคือที่อยู่ของคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง ดังนั้นเพื่อให้เกิดความถูกต้องแม่นยำ จึ่ง ได้มีการกำหนดหมายเลขประจำเครื่องที่เราเรียกว่า IP Address และเพื่อไม่ให้เกิดความสับสนและซ้ำกัน จึงได้มีการก่อตั้งองค์กรเพื่อ แจกจ่าย IP Address โดยเฉพาะ ชื่อองค์กรว่า InterNIC (International Network Information Center) อยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา การแจกจ่ายนั้นทาง InterNIC จะแจกจ่ายเฉพาะ Network Address ให้แต่ละเครือข่าย ส่วนลูกข่ายของเครือง ทางเครือข่ายนั้นก็จะเป็น ผู้แจกจ่ายอีกทอดหนึ่ง ดังนั้นพอสรุปได้ว่า IP Address จะประกอบด้วยตัวเลข 2 ส่วน คือ
1.    Network Address
2.    Computer Address

การแบ่งขนาดของเครือข่าย
เราสามารถแบ่งขนาดของการแจกจ่าย Network Address ได้ 3 ขนาดคือ
1.    Class A nnn.ccc.ccc.ccc (nnn ชุดแรก ตัวเลขอยู่ระหว่าง 1-126)
เครือข่าย Class A สามารถแจกจ่าย IP Address ได้มากที่สุดถึง 16 ล้านหมายเลข
2.    Class B nnn.nnn.ccc.ccc (nnn ชุดแรก ตัวเลขอยู่ระหว่าง 128-191)
เครือข่าย Class A สามารถแจกจ่าย IP Address ได้มากเป็นอันดับสอง คือ 65,000 หมายเลข
3.    Class c nnn.nnn.nnn.ccc (nnn ชุดแรก ตัวเลขอยู่ระหว่าง 192-233)
เครือข่าย Class A สามารถแจกจ่าย IP Address ได้น้อยที่สุด คือ 256 หมายเลข
* nnn หมายถึง Network Address ccc หมายถึง Computer Address
หมายเลขต้องห้าม สำหรับ IP Address
เนื่องจากเครือข่ายก็อาจจำเป็นต้องใช้ IP Address ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีการจำกัดบางหมายเลขเพื่อใช้เป็นการภายใน ได้แก่
·         Class A ตั้งแต่ 10.xxx.xxx.xxx
·         Class B ตั้งแต่ 172.16.xxx.xxx ถึง 172.31.xxx.xxx
·         Class C ตั้งแต่ 192.168.0.xxx ถึง 192.168.255.xxx
สำหรับภายในองค์กร ก็มีหมายเลขต้องห้ามเช่นกัน
1.    127.xxx.xxx.xxx หมายเลขนี้ใช้สื่อสารกับตัวเอง
2.    0.0.0.0

ขอขบอคุณที่มา : http://it-guides.com

ทำไม ติดตั้งโปรแกรมแอนตี้ไวรัส ยังติดไวรัสอยู่

คุณมีปัญหาอย่างนี้หรือไม่ ทำไม ติดตั้งโปรแกรมแอนตี้ไวรัสแล้ว ยังติดไวรัสอยู่ เรามาลองสังเกตดูพฤติกรรมการใช้คอมพิวเตอร์ของคุณสักนิดว่า คุณอยู่ในเกณฑ์ที่ผมกำลังจะบอกหรือไม่ ทั้งนี้คุณจะได้ทราบว่า ทำไมเครื่องคอมฯ ของคุณทำไมยังมีปัญหาเกี่ยวกับไวรัสอยู่ คุณเคยอัปเดทโปรแกรม Antivirus หรือไม่ เนื่องจากตัวไวรัสเอง ก็มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกัน ทำให้เราจำเป็นต้องอัปเดทโปรแกรม Antivirus อย่างสม่ำเสมอ ดังนั้นถ้าคุณไม่มีการอัปเดทโปรแกรม ย่อมมีโอกาสเสี่ยงที่จะติดไวรัสได้ โปรแกรม Antivirus ทำงานหรือเปล่า หลังการติดตั้งโปรแกรม Antivirus แล้ว โปรแกรมจะทำการตรวจสอบไวรัสแบบตลอดเวลา หรือที่เราเรียกว่า Real Time Scan ดังนั้น ถ้าโปรแกรมไม่ทำงานแบบอัตโนมัติ ก็จะไม่สามารถตรวจสอบไวรัสได้ เราสามารถสังเกตได้จาก Taskbar ของ Windows? จะมีไอคอนของโปรแกรมนั้นๆ แสดงอยู่ และไม่มีสัญลักษณ์กากบาท (ซึ่งหลายๆ โปรแกรมแสดงว่า โปรแกรมทำงานไม่ปกติ) คุณเคยรันโปรแกรมตรวจสอบไวรัสหรือไม่ ไวรัสอาจแฝงมากับการใช้โปรแกรม หรือผ่านมาทางการใช้งานอีเมลและเว็บไซต์ได้?หรืออาจติดมากับการใช้งานจากแผ่น CD/DVD หรือทาง Flash Drive ดังนั้น ถ้าคุณไม่เคยใช้ตรวจสอบไวรัสเลย หรือที่เราเรียกว่า การ Scan Virus เลย ย่อมมีโอกาสสูงมากๆ ที่ไวรัสยังคงแอบแฝงในเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณ คำแนะนำ ควรทำการสั่ง Scan Virus แบบ Full อย่างน้อยเดือนละครั้ง หรือควรตั้งเวลา ตรวจสอบไวรัสอย่างสม่ำเสมอทุกวัน (อาจเป็นช่วงเวลาพักทานข้าว) ด้วย อัปเดท Windows บ้างหรือเปล่า Windows คือระบบปฏิบัติการที่คนส่วนใหญ่ใช้งาน และเป็นช่องทางแรกที่ไวรัส พยายามเจาะและเข้าถึง ถ้า Windows ที่คุณใช้อยู่ ถูกต้องตามกฏหมาย (ซื้อมาอย่างถูกต้อง) จะสามารถอัปเดทโปรแกรมผ่านทางเว็บไซต์ของ Microsoft ได้ตลอด ดังนั้น จะช่วยลดปัญหาของไวรัสได้ ลองสังเกตกันดูน่ะครับ ถ้าคุณสามารถทำตามดังกล่างข้างต้น ก็สามารถช่วยลดปัญหาไวรัสได้อย่างมากเลยทีเดียว


ขอบคุณที่มา : http://it-guids.com